TSU

วิทยาลัยนานาชาติ ม.ทักษิณ ร่วมมือเครือข่ายชุมชนจัดกิจกรรม ตะโหมดนาวาน สืบสานข้าวสังหยดอินทรีย์ด้วยศาสตร์บรรพชนสู่สากล

   7 พ.ย. 65  /   125
วิทยาลัยนานาชาติ ม.ทักษิณ ร่วมมือเครือข่ายชุมชนจัดกิจกรรม ตะโหมดนาวาน สืบสานข้าวสังหยดอินทรีย์ด้วยศาสตร์บรรพชนสู่สากล
วิทยาลัยนานาชาติ ร่วมกับ สถาบันปฏิบัติการชุมชนเพื่อการศึกษาแบบบูรณาการ จัดโครงการเสริมสร้างความผูกพันกับชุมชน : รอบรั้ว ม.ทักษิณ (IC Community Engagement) กิจกรรม “ตะโหมดนาวาน สืบสานข้าวสังหยดอินทรีย์ด้วยศาสตร์บรรพชนสู่สากล” โดยมี วัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการสร้างความสัมพันธ์กับชุมชนรอบพื้นที่มหาวิทยาลัย อีกทั้งเป็นการพัฒนาระบบ และกลไกการสร้างความร่วมมือกับชุมชนเพื่อนำไปสู่สากลอย่างยั่งยืน
 

     เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2565 ณ แปลงนาข้าวอินทรีย์ หมู่ที่ 12 บ้านท่าน้ำตก ตำบลตะโหมด อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประสงค์ เกษราธิคุณ คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย รักษาการแทนผู้อำนวยการวิทยาลัยนานาชาติ พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์ ดร.สมพงศ์ โอทอง รักษาการแทนรองผู้อำนวยการวิทยาลัยนานาชาติ/อาจารย์ ผู้รับผิดชอบหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาที่ยั่งยืน ดร.บัณฑิต ทองสงฆ์ รักษาการแทนผู้อำนวยการสถาบันปฏิบัติการชุมชนเพื่อการศึกษา แบบบูรณาการ พร้อมด้วยบุคลากร สังกัดวิทยาลัยนานาชาติ จำนวน 4 คน บุคลากร สังกัดสถาบันปฎิบัติการชุมชนเพื่อการศึกษาแบบบูรณาการ จำนวน 7 คน บุคลากรกัดฝ่ายสื่อสารองค์กร จำนวน 2 คน ผู้นำชุมชนและชาวบ้านชุมชนตะโหมด จำนวน 10 คน คณะครู และ นักเรียนโรงเรียนประชาบำรุง จำนวน 30 คน รวม 53 คน โดยมีพระครู ดร.สุนทรกิจจานุโยค เจ้าอาวาสวัดตะโหมด กล่าวต้อนรับและเปิดงาน มหาวิทยาลัยทักษิณ ตระหนักถึงความสำคัญของการมีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อสังคม รวมทั้ง เพื่อการขับเคลื่อนปณิธาน “มหาวิทยาลัยเพื่อสังคม” ของมหาวิทยาลัยทักษิณอย่างยั่งยืน โดยมีนโยบาย สนับสนุนและส่งเสริมให้หน่วยงานต่าง ๆ ภายในมหาวิทยาลัย มีการดำเนินงานพันธกิจสัมพันธ์กับองค์กร ชุมชนอย่างต่อเนื่อง และเพื่อเป็นการสนับสนุนการขับเคลื่อนพันธกิจที่สร้างความสัมพันธ์ระหว่างมหาวิทยาลัย กับสังคมในระดับชุมชน สังคม ให้เกิดความเข้มแข็ง ภายใต้ปณิธานมหาวิทยาลัยทักษิณ “มหาวิทยาลัยเพื่อสังคม” ที่มุ่งหวังให้มหาวิทยาลัย

     ทักษิณเป็นพื้นที่ส่วนกลางในการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำงานวิชาการเพื่อสังคม การพัฒนาระบบ บริหารจัดการ ตลอดจนความร่วมมือระหว่าง “มหาวิทยาลัย” กับ “สังคม” ที่ต้องทำงานร่วมกัน โดยมี เป้าหมายที่สำคัญ คือ การสร้างการเปลี่ยนแปลงของสังคมในทางที่ดีขึ้น และสร้าง Engage Citizens ซึ่งหมายรวมถึงนิสิต บัณฑิต และบุคลากรของมหาวิทยาลัย ชุมชนตะโหมด” ต.ตะโหมด อ.ตะโหมด จ.พัทลุง เป็นหนึ่งในชุมชนตัวอย่างที่มีผลงานที่หลากหลาย โดยชุมชนใช้สภาลานวัดตะโหมดเป็นศูนย์กลางจัดเวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และกำหนดทิศทางการพัฒนา สังคม เศรษฐกิจ การศึกษา ศาสนา วัฒนธรรม และทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม โดยนำวามรู้จากการปฏิบัติผนวกกับความรู้ทางวิชาการผ่านกิจกรรมที่หลากหลาย เชื่อมต่อการอนุรักษ์ ดิน น้ำ ป่า จนเกิดความผูกพันของคนในชุมชนละนำมาสู่การพึ่งพาซึ่งกันและกัน นอกเหนือจากกิจกรรมดำนาข้าวสังข์หยดอินทรีย์ โดย ครูชุมชน บุคลากรมหาวิทยลัยทักษิณ บุคลากรและ นักเรียนโรงเรียนประชาบำรุง แล้วยังมีกิจกรรมสร้างสรรค์ความเข้มแข็งของชุมชน ประกอบด้วยการแข่งกีฬาสานสัมพันธ์ชุมชน การแข่งขัน “ชักเชือกในเทือกเวียน” การแข่งขัน “แชร์บอลนอนเทือก” การแข่งขัน “วอลเลย์บอลนอนเทือก”