TSU

ม.ทักษิณ หารือความร่วมมือ ปปช. ขับเคลื่อนโครงการ STRONG-องค์กรพอเพียงต้านทุจริต (สถาบันอุดมศึกษา)

   31 พ.ค. 65  /   125
ม.ทักษิณ หารือความร่วมมือ ปปช. ขับเคลื่อนโครงการ STRONG-องค์กรพอเพียงต้านทุจริต (สถาบันอุดมศึกษา)
 เมื่อวันที่31 พฤษภาคม 2565 อาจารย์วีณา ลีลาประเสริฐศิลป์ รักษาการแทนรองอธิการบดี ฝ่ายพัฒนาระบบนิเวศและโครงสร้างพื้นฐาน สงขลา พร้อมคณะผู้บริหาร บุคลากร และผู้แทนองค์การนิสิต สภานิสิต สโมสรนิสิต มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตสงขลา และวิทยาเขตพัทลุง ให้การต้อนรับและร่วมประชุมหารือกับคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ โดย รศ.ดร. มาณี ไชยธีรานุวัฒศิริ ที่ปรึกษาประธานกรรมการ ป.ป.ช. ผศ.ดร. ไพโรจน์ ด้วงวิเศษ กรรมการ สปท. ผู้บริหาร ป.ป.ช. ภาค 9 (นายปิยะวัฒน์ คุระพล ผู้อำนวยการกลุ่มประสานการป้องกันการทุจริต ภาค 9) และผู้บริหาร ป.ป.ช.จังหวัดสงขลา (นางสาวสุดใจ ไข่เสน ผู้อำนวยการสำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดสงขลา) และบุคลากรของ สำนักงาน ป.ป.ช. ในโอกาสเดินทางมาเยี่ยมชมมหาวิทยาลัยทักษิณ พร้อมปรึกษาหารือแนวทางการขับเคลื่อนโครงการ STRONG-องค์กรพอเพียงต้านทุจริต (สถาบันอุดมศึกษา) ของมหาวิทยาลัยทักษิณทั้ง 2 วิทยาเขต  
     สำหรับการขับเคลื่อนโครงการ STRONG-องค์กรพอเพียงต้านทุจริต (สถาบันอุดมศึกษา) สํานักงาน ป.ป.ช. ได้ดําเนินโครงการ STRONG-องค์กรพอเพียงต้านทุจริต โดยมี วัตถุประสงค์เพื่อผลักดันการป้องกันการทุจริตเชิงรุก ด้วยการสร้างเสริมให้องค์กรภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ ภาคเอกชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นองค์กรพอเพียงต้านทุจริตด้วยกรอบแนวคิดโมเดล STRONG จนกระทั่งพัฒนาเป็นวัฒนธรรมต้านทุจริต ซึ่งในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ได้กําหนดให้สถาบันอุดมศึกษา เป็นกลุ่มเป้าหมายหลักในการดําเนินการ ซึ่งสํานักงาน ป.ป.ช. พิจารณาแล้วเห็นว่ามหาวิทยาลัยทักษิณเป็นสถาบันอุดมศึกษา ที่มีความพร้อมและศักยภาพในการเป็น STRONG-องค์กรพอเพียงต้านทุจริตต้นแบบของภาคใต้ และพร้อมาที่สนับสนุน ส่งเสริมงบประมาณและบุคลากรในการขับเคลื่อนให้เกิดการจัดตั้งชมรมSTRONG-องค์กรพอเพียงต้านทุจริตต้นแบบ ภายในมหาวิทยาลัยทักษิณ เพื่อขับเคลื่อนและขยายผลสู่องค์กรอื่นๆ สํานักงาน ป.ป.ช. ได้ดําเนินการส่งเสริมการรวมตัวกันของภาคประชาชนในนามชมรม STRONG-จิตพอเพียงต้านทุจริต 76 จังหวัด และกรุงเทพมหานคร ซึ่งมีภาคประชาชนผู้เข้าร่วมกิจกรรมระหว่าง ปี พ.ศ. 2561-2564 มากกว่า 2,000 คน จึงเป็นที่มาของการขยายผลสู่การสร้างการมีส่วนร่วมของภาคองค์กรอย่างต่อเนื่อง
     ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 เป็นระยะเริ่มต้นของการดําเนินโครงการองค์กร STRONG จิตพอเพียง ต้านทุจริตที่มุ่งหวังให้เกิดการต่อยอดแนวคิดและการประยุกต์ใช้โมเดล STRONG-จิตพอเพียงต้านทุจริต ซึ่งพัฒนาโดย รศ.ดร.มาณี ไชยธีรานุวัฒศิริ (2561,2562,2563)ไปสู่กลุ่มบุคลากรในองค์กร โดยประยุกต์ หลักบูรณาการ “STRONG” เป็นแนวทางในการพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืน แสดงเจตนารมณ์ รวมถึงการกําหนด นโยบายและแนวทางปฏิบัติเพื่อขับเคลื่อนองค์กรไปสู่การเป็นองค์กรพอเพียง โปร่งใสไร้ทุจริต ร่วมเป็นส่วนสําคัญ ของการสร้างวัฒนธรรม ค่านิยมสุจริต มีทัศนคติและพฤติกรรมในการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ ซึ่งเป็นการนําร่องให้แก่องค์กรที่มีความพร้อมและสนใจเข้าร่วมขับเคลื่อนให้เป็นองค์กรต้นแบบและองค์กรขยายผลต่อมาในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 สํานักงาน ป.ป.ช. ได้ส่งเสริมการขยายผลที่ได้จากแนวทางของ องค์กรต้นแบบและองค์กรขยายผลในแต่ละประเภท ประกอบด้วย องค์กรภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ ภาคเอกชน และ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จํานวนมากกว่า 50 แห่ง เพื่อผลักดันให้หน่วยงานมีกลไกในการจับตามองและแจ้ง เบาะแส (Watch and Voice) เพื่อให้เกิดความโปร่งใส ไร้สินบน จัดตั้งชมรมฯ ให้มีการส่งเสริมความโปร่งใส ภายในองค์กร และร่วมกับสํานักงาน.ป.ป.ช. ในการเผยแพร่ข้อมูลการส่งเสริมความโปร่งใสภายในองค์กรอย่าง ต่อเนื่อง ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 สํานักงาน ป.ป.ช. คาดหวังให้เกิดการขยายผลเพิ่มเติมจากหน่วยงานแต่ละ ประเภท เพื่อให้องค์กรทุกภาคส่วนร่วมกันสร้างจิตสํานึกร่วมขับเคลื่อนแนวคิด STRONG-จิตพอเพียงต้านทุจริต