TSU

ม.ทักษิณ รุดสร้างเครือข่ายยกระดับผลิตภัณฑ์ผลงานวิจัย มุ่งสู่ธุรกิจนวัตกรรมในระดับระดับสากล

   27 ก.ย. 67  /   13
ม.ทักษิณ รุดสร้างเครือข่ายยกระดับผลิตภัณฑ์ผลงานวิจัย มุ่งสู่ธุรกิจนวัตกรรมในระดับระดับสากล
 

สถาบันวิจัยและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยทักษิณ จัดกิจกรรมการสร้างเครือข่ายและยกระดับผลิตภัณฑ์จากผลงานวิจัยมหาวิทยาลัยทักษิณและสร้างความพร้อมของนิสิตและนักวิจัยและการสู่ธุรกิจนวัตกรรมในระดับสากล นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.โชคชัย เหมือนมาศ ผู้รักษาการแทนรองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและนวัตกรรม ให้เกียรติต้อนรับ Mr.Takayuki Ishikawa , Mr.Hiroyuki Tsujii และนิสิต จาก University of Kitakyushu ประเทศญี่ปุ่น เพื่อเข้าร่วม Thaksina Program: SDGs International Social Entrepreneurship Development Program for The University of Kitakyushu and Thaksin University ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 24 – 28 กันยายน 2567 ณ อาคารทักษิณาคาร มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง โดยมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมทั้งหมด 30 คน

 

กิจกรรมวันแรก (24 กันยายน 2567) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.โชคชัย เหมือนมาศ นำทีมอาจารย์และนิสิต จาก University of Kitakyushu สํารวจนิทรรศการ วัฒนธรรมท้องถิ่น ศิลปะงานฝีมือ และประวัติศาสตร์และโบราณคดี ทักษิณคดีศึกษา และเยี่ยมชมวัดพะโคะ จังหวัดสงขลา ภายหลังนั้นได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.สมัคร แก้วสุกแสง รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม และผู้รักษาการแทนผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยทักษิณ ร่วมต้อนรับและกล่าวเปิดโครงการในครั้งนี้ เมื่อเสร็จสิ้นพิธีการเปิด นิสิตจากทั้งสองมหาวิทยาลัย ร่วมกันระดมความคิดและเตรียมการพัฒนาผลิตภัณฑ์โดยแบ่งเป็น 5 กลุ่ม แต่ละกลุ่มจัดทำ soybean meat sausage และ Fusion sweet อย่างละ 1 เมนู เพื่อนําเสนอแนวคิดผลิตภัณฑ์ และทดสอบรสชาติของผลิตภัณฑ์และให้ข้อเสนอแนะสำหรับการปรับปรุงผลิตภัณฑ์รอบที่ 1

      

ในวันที่สองของกิจกรรม (25 กันยายน 2567)  แต่ละกลุ่มเตรียมผลิตภัณฑ์และปรับปรุงรสชาติตามข้อเสนอแนะรอบที่ 1 รวมทั้งทดสอบรสชาติรอบที่ 2 ตามด้วยการแลกเปลี่ยนกิจกรรมการละเล่นเชิงวัฒนธรรม และกีฬาของประเทศญี่ปุ่นและไทย

วันที่ 26 กันยายน 2567 นิสิตผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้มีโอกาสนำผลิตภัณฑ์ที่ถูกปรับปรุงสูตรแล้ว มาทดสอบลงตลาดครั้งแรก ณ ตลาดริมชล พร้อมกับทำการสำรวจผลิตภัณฑ์ผ่าน Google Form ภายหลังจากนั้นเปิดโอกาสให้แต่ละกลุ่มได้นำเสนอผลิตภัณฑ์ของตนเอง โดยวัตถุประสงค์ของโครงการในครั้งนี้ ถูกจัดขึ้นเพื่อพัฒนาศักยภาพของนักวิจัยของมหาวิทยาลัยทักษิณในการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมและ ความพร้อมนักวิจัยสู่ธุรกิจนวัตกรรมในระดับระดับสากล เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้การสร้างแฟลตฟอร์มเพื่อนำนวัตกรรมของมหาวิทยาลัยไปสู่ภาคธุรกิจตามความพร้อมของมหาวิทยาลัยทักษิณ