TSU

ม.ทักษิณ พัฒนา “ละครโนรา” สานต่อความบันเทิงจากรากฐานแห่งพลังศรัทธา จุดเชื่อมวัฒนธรรมจากอดีตสู่ปัจจุบัน

   11 ต.ค. 66  /   152

????✅ ม.ทักษิณ พัฒนา “ละครโนรา” สานต่อความบันเทิงจากรากฐานแห่งพลังศรัทธา จุดเชื่อมวัฒนธรรมจากอดีตสู่ปัจจุบัน

...

????????สาขาวิชาศิลปะการแสดง คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ จัดการแสดงละครโนรา เรื่อง อิเหนา ตอน บุษบาเสี่ยงเทียน โดยนิสิตวิชาเอกโนรา รุ่นที่ 15 เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2566 เวลา 18.00 น. ณ หอประชุมปาริชาต มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตสงขลา โดยการกำกับดูแลจากผู้ช่วยศาสตราจารย์ ธรรมนิตย์ นิคมรัตน์ ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (โนรา) พุทธศักราช 2564 อาจารย์ประจำสาขาวิชาศิลปะการแสดง นำแสดงโดยนิสิตสาขาวิชาศิลปะการแสดง (วิชาเอกโนรา) ชั้นปีที่ 4 คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

...

✨????ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ธรรมนิตย์ นิคมรัตน์ ????ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า การแสดงละครโนรา เรื่องอิเหนา ในครั้งนี้ ผู้แสดงต้องร้องรำด้วยตัวเอง โดยมีการนำการแสดงนาฎศิลป์สร้างสรรค์มาใช้ประกอบในการแสดงและมีการเล่นเงา ซึ่งการแสดงแสงและเงา ได้นำมาใช้เป็นส่วนประกอบในการดำเนินเรื่อง มีอาจารย์สายฝน ไฝเส้ง ดูเเลบทและแสง เสียงประกอบ และมีการประยุกต์นำเอาท่าทางการแสดงของอินโดนีเซียมาปรับใช้ในการแสดง ซึ่งถือเป็นมิติใหม่ของการผสมผสานการแสดงละครกับโนรา โดยเฉพาะเป็นการนำเอาบทประพันธ์เรื่องอิเหนา มาแสดงเป็นละครโนราครั้งแรก โดยมีนักแสดงหลักคือ อิเหนา บุษบา มะเดวหวี ประสันตา ผู้สร้างสรรค์ผลงาน เป็นนิสิตชั้นปีที่ 4 ประกอบด้วย นางสาวกุลทัศวรรณ แก้วขาว, นางสาวจิราพร มะเดื่อ, นางสาวชลธิชา อาชาฤทธิ์, นายธนากร ชัยมนตรี, นายศิริพงศ์ ทองเสน และนายปฎิพล ฤทธิภักดี ส่วนการที่นิสิตเลือกแสดงละครโนรา เรื่องอิเหนา มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษา เรียนรู้ และเปรียบเทียบโดยการทดลองแสดงดูว่า การแสดงละครอิเหนาแบบเดิมเป็นการแสดงละครรำไทยเมื่อมีการดัดแปลงเป็นละครพื้นบ้านผสมผสานการแสดงโนรา จะมีการพัฒนาได้อย่างไรบ้าง และการแสดงละครโนรา เรื่องอิเหนา ตอน บุษบาเสี่ยงเทียน เป็นการสอนในเรื่องของความรักและการเลือกคู่ครอง เป็นการเตือนสติวัยรุ่นที่มาดูละคร ผ่านตัวละครในเรื่องนี้

...

⏰????✅การแสดงละครโนราเป็นสื่อสะท้อนถึงการเชื่อมโยงจารีตทางวัฒนธรรมผ่านศิลปะการแสดงที่มีลักษณะเฉพาะของท้องถิ่นภาคใต้ สอดประสานเข้ากับศิลปะการแสดงละคร ที่สะท้อนความเป็น “มหรสพการแสดงที่งดงาม ทรงพลัง และมีชีวิตชีวา” เป็น “นาฏยลักษณ์ของคนใต้” การแสดงประกอบไปด้วยการร่ายรำที่แข็งแรง กระฉับกระเฉง การขับกลอนด้วยท่วงทำนองที่ไพเราะ ใช้ปฏิภาณในการด้นกลอนสด และเจรจาด้วยสำเนียงท้องถิ่นใต้ มีลูกคู่และดนตรีร้องรับด้วยจังหวะที่คึกคักฉับไว การแสดงชุดนี้แสดงให้เห็นถึงการเชื่อมต่อและการปฏิสัมพันธ์กันระหว่างความเป็นโลกาภิวัตน์และความเป็นท้องถิ่น ผ่านผลงานนวัตกรรมที่ได้รับการสร้างสรรค์ การแสดงท่วงท่าโนรา ประกอบกับเสียงจากเครื่องดนตรีพื้นบ้าน สะท้อนให้เห็นถึงความเป็นอัตลักษณ์เฉพาะถิ่น และการต่อยอดสู่ การขับเคลื่อนนวัตกรรมสังคมเชิงพื้นที่สู่การสร้างอัตลักษณ์และการรับรู้ในระดับโลกหรือสากล เพื่อสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อมในระดับชาติและนานาชาติ ของมหาวิทยาลัยทักษิณ