TSU

โมเดลแก้จน (Operating Model : OM) จังหวัดพัทลุง แลกเปลี่ยนผลการแก้ไขปัญหาความยากจน ในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง

   26 มิ.ย. 65  /   454
โมเดลแก้จน (Operating Model : OM) จังหวัดพัทลุง แลกเปลี่ยนผลการแก้ไขปัญหาความยากจน ในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง
 เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2565 ที่ผ่านมา รองศาสตราจารย์ ดร.สมัคร แก้วสุกแสง ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา และผู้รักษาการแทนรองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม หัวหน้าโครงการวิจัย นำทีมนักวิจัยร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ดำเนินโครงการวิจัยแก้ไขปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำ กลุ่มจังหวัดภาคใต้ ประกอบด้วย พัทลุง ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส พร้อมลงพื้นที่เรียนรู้โมเดลแก้จนจังหวัดพัทลุง ณ วิสาหกิจชุมชนหัตถกรรมกระจูดวรรณี (Varni Southern Wickery) ต.พนางตุง อ.ควนขนุน จ.พัทลุง 
     นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมแลกเปลี่ยน "กระจูดแก้จน สร้างรายได้ กระจายโอกาส สู่ครัวเรือนยากจน" ซึ่งเป็นการขยายผลการพัฒนาระบบสนับสนุนการทำงานเชิงพื้นที่เพื่อแก้ปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำ โดยรองศาสตราจารย์ ดร.พรพันธุ์ เขมคุณาศัย นักวิจัยของโครงการ กล่าวว่า กระบวนการศึกษา การออกแบบลวดลาย การพัฒนาผลิตภัณฑ์ การย้อมสีกระจูดจากวัสดุธรรมชาติ ด้วยระบบพี่เลี้ยงในการดำเนินงานซึ่งได้รับความอนุเคราะห์จากคุณมนัทพงศ์ เซ่งฮวด ผู้บริหารกระจูดวรรณี ให้ความรู้ ร่วมฝึกปฏิบัติกับกลุ่มเปราะบางเป็นเวลามากกว่า 3 เดือน ส่งผลให้กลุ่มมีรายได้เพิ่มขึ้น ต่อมา เป็นการรับฟังข้อเสนอแนะและทิศทางการดำเนินโครงการแก้ไขปัญหาจากผู้ทรงคุณวุฒิของหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ประกอบด้วย
     1. คุณจาดูร อภิชาตบุตร ผู้ทรงคุณวุฒิ
     2. ดร.สีลาภรณ์ บัวสาย ผู้ทรงคุณวุฒิ
     3. คุณบุญพาศ รักนุ้ย รองเลขาธิการ ศอ.บต.
     4. คุณกฤษดา สมประสงค์ ผู้อำนวยการ พอช.
     5. ดร.กิตติ สัจจาวัฒนา ผู้อำนวยการ บพท.
     6. คุณจิริกา นุตาลัย ที่ปรึกษาโครงการ
     7. คุณสมประสงค์ พยัคฆพันธ์ รองประธานสมาพันธ์ SME (ไทย)
     ซึ่งผู้ทรงคุณวุฒิได้ให้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะเพื่อพัฒนาโมเดลแก้จน จากการทำงานเชิงพื้นที่ รวมทั้งข้อมูลผลการวิเคราะห์ลักษณะเฉพาะการทำงานแก้ไขปัญหาความยากจนในพื้นที่ภาคใต้ ส่งผลให้นักวิจัยในพื้นที่ได้แนวทางและทิศทางการดำเนินโครงการแก้ไขปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำ สามารถนำไปพัฒนายกระดับการทำงานในระดับพื้นที่
     โอกาสนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.ณฐพงศ์ จิตรนิรัตน์ ผู้รักษาการแทนอธิการบดี มหาวิทยาลัยทักษิณ ผู้อำนวยการโครงการวิจัยได้มอบจักรเย็บกระจูด แก่กลุ่มเปาะบางในการนำไปใช้งานสำหรับการออกแบบผลิตภัณฑ์กระจูด ภายใต้แบนด์ LENOI CRAFT ต่อไป