TSU

สสช.จัดพิธีลงนามสัญญารับทุนบริการวิชาการและโครงการบริการวิชาการ ภายใต้กองทุนบริการวิชาการและนวัตกรรม ม.ทักษิณ ประจำปีงบประมาณ 2567

   22 มี.ค. 67  /   147
สสช.จัดพิธีลงนามสัญญารับทุนบริการวิชาการและโครงการบริการวิชาการ ภายใต้กองทุนบริการวิชาการและนวัตกรรม ม.ทักษิณ ประจำปีงบประมาณ 2567
 

 กองทุนบริการวิชาการและนวัตกรรม  มหาวิทยาลัยทักษิณ ขับเคลื่อนพันธกิจด้านการบริการวิชาการ ผ่านการจัดสรรทุนบริการวิชาการ 4 ประเภททุน ได้แก่ หน่วยบริการวิชาการ ทุนบริการวิชาการเร่งรัด ทุนบริการวิชาการพัฒนาแผนงานริเริ่มสำคัญ และทุนบริการวิชาการนวัตกรรมสังคมภูมิปัญญาวัฒนธรรมท้องถิ่น  ถือเป็นกลไกหนึ่งในการสนับสนุนการถ่ายทอดองค์ความรู้จากคณะ หน่วยงาน สู่การใช้ประโยชน์จริง เพื่อสนับสนุนการพัฒนาเชิงพื้นที่และสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของพื้นที่หมุดหมายของมหาวิทยาลัย

 

          สถาบันส่งเสริมการบริการวิชาการ ได้กำหนดหลักเกณฑ์การจัดตั้งและสนับสนุนหน่วยบริการวิชาการ และจัดสรรทุนบริการวิชาการ ประจำปีงบประมาณ 2567 เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมศักยภาพด้านการบริการวิชาการ การถ่ายทอดองค์ความรู้ และนวัตกรรมสังคมเพื่อขับเคลื่อนพันธกิจของมหาวิทยาลัยที่ มุ่งสู่การเป็นมหาวิทยาลัยนวัตกรรมสังคมระดับแนวหน้าของประเทศภายในปี 2567        

 

                                                

 

                                                                                            

              เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2567 สถาบันส่งเสริมการบริการวิชาการ ได้จัดพิธีลงนามสัญญารับทุนหน่วยบริการวิชาการและโครงการบริการวิชาการ ประจำปีงบประมาณ 2567 เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2567 เวลา 08.00 น. – 12.00 น. ณ ห้องประชุมสภามหาวิทยาลัย อาคารบริหารและสำนักงานกลาง มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง ซึ่งได้รับเกียรติจากรองศาสตราจารย์ ดร.สมัคร แก้วสุกแสง รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม กล่าวถึงบทบาทของกองทุนบริการวิชาการและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยทักษิณ และการดำเนินงานของหน่วยบริการวิชาการและโครงการที่ได้รับทุนเพื่อตอบค่าเป้าหมาย (KPI) ตามยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัย ในส่วนของ อาจารย์ ดร.นิชากรณ์ พันธ์คง ผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมการบริการวิชาการ ได้ให้ข้อมูลแนวทางการดำเนินงานและการบริหารจัดการทุนบริการวิชาการที่ได้รับงบประมาณในปี 2567 พร้อมกันนี้ทั้งสองท่านได้ให้เกียรติลงนามเป็นผู้ให้ทุนในสัญญารับทุน โดยมีหน่วยบริการวิชาการที่ผ่านการพิจารณาจัดสรรทุนบริการวิชาการ จำนวน 5 หน่วยบริการวิชาการและโครงการบริการวิชาการ จำนวน 11 โครงการ งบประมาณสนับสนุนประมาณสองล้านบาท รายละเอียดดังนี้

1.การลงนามสัญญารับทุนหน่วยบริการวิชาการ จำนวน 5 หน่วย ดังนี้              

          1.1 หน่วยบริการวิชาการทางพลศึกษาและกิจกรรมทางกาย โดย อาจารย์ ดร.สิงหา ตุลยกุล คณะศึกษาศาสตร์ เป็นหัวหน้าหน่วย              

          1.2 หน่วยบริการวิชาการสื่อวัฒนธรรมสร้างสรรค์ ซอฟต์พาวเวอร์ และผู้ประกอบการทางวัฒนธรรม โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปาริฉัตร ตู้ดำ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ เป็นหัวหน้าหน่วย              

          1.3 หน่วยบริการวิชาการเพื่อพัฒนาสมรรถนะทางวิทยาศาสตร์แก่ครูและนักเรียน โดย อาจารย์ อาจารี นาโค คณะวิทยาศาสตร์และดิจิทัล เป็นหัวหน้าหน่วย              

          1.4 หน่วยบริการวิชาการศูนย์การเรียนรู้และบริการทางการพยาบาล โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ จิรพรรณ พีรวุฒิ คณะพยาบาลศาสตร์ เป็นหัวหน้าหน่วย              

          1.5 หน่วยบริการวิชาการคลินิกสุขภาพสัตว์เลี้ยง โดย อาจารย์ สพ.ญ.สุภาพร สมรูป คณะเทคโนโลยีและการพัฒนาชุมชน เป็นหัวหน้าหน่วย

2.การลงนามสัญญารับทุนโครงการบริการวิชาการ จำนวน 11 โครงการ โดยแบ่งเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้              

          2.1 ทุนบริการวิชาการเร่งรัด (Quick Win) เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) จำนวน 5 โครงการ ดังนี้                    

               2.1.1 โครงการการถ่ายทอดระบบการจัดการข้อมูลขยะดิจิทัลที่เป็นมิตรต่อผู้ใช้สำหรับธนาคารขยะ ตำบลตะแพน โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิรมล จันทรชาติ คณะวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมดิจิทัล เป็นหัวหน้าโครงการ                    

              2.1.2 โครงการยกระดับผู้ผลิตกาแฟโรบัสต้า อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา ระยะที่ 1 โดย นายวีระ ชุมช่วย คณะนิติศาสตร์ เป็นหัวหน้าโครงการ                      

             2.1.3 โครงการพัฒนาศักยภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาด้านระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยใช้ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตนักเรียนครัวเรือนยากจน โดย อาจารย์ ดร.วีนัส ศรีศักดา คณะศึกษาศาสตร์ เป็นหัวหน้าโครงการ                    

              2.1.4 โครงการชุมชนต้นแบบ Zero Waste เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจหมุนเวียน (BCG) โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุดสาคร สิงห์ทอง คณะวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมดิจิทัล เป็นหัวหน้าโครงการ                      

             2.1.5 โครงการก้อนอาหารเสริม (Multinutrient Blocks) จากของเหลือจากกระบวนการผลิตไข่แดงเค็มสำหรับสัตว์ โดย อาจารย์ ดร.จิราพร ปานเจริญ คณะเทคโนโลยีและการพัฒนาชุมชน เป็นหัวหน้าโครงการ              

         2.2 ทุนบริการวิชาการพัฒนาแผนงานริเริ่มสำคัญ (Flagship)/ชุดโครงการ จำนวน 3 โครงการ ดังนี้                    

              2.2.1 โครงการการส่งเสริมเศรษฐกิจ BCG และการพัฒนาที่ยั่งยืน SDGs กับวิสาหกิจชุมชนท่าช้างฟื้นฟูเศรษฐกิจด้วยนวัตกรรมทำขยะเป็นศูนย์และเพิ่มมูลค่า โดย รองศาสตราจารย์ ดร.ศรชัย อินทะไชย คณะวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมดิจิทัล เป็นหัวหน้าโครงการ                    

             2.2.2 โครงการการขอจดทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์(GI) และการสกัดสารสำคัญจากใบพลูเพื่อใช้ในผลิตภัณฑ์มูลค่าสูง โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิไลลักษณ์ กล่อมพงษ์ คณะอุตสาหกรรมเกษตรและชีวภาพ เป็นหัวหน้าโครงการ                    

            2.2.3 โครงการการยกระดับมาตรฐานการผลิตไข่แดงเค็ม และการจัดการของเหลือจากกระบวนการผลิตไข่เค็มปากแตระ โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปริศนา วงศ์ล้อม คณะเทคโนโลยีและการพัฒนาชุมชน เป็นหัวหน้าโครงการ            

         2.3 ทุนบริการวิชาการนวัตกรรมสังคมภูมิปัญญาวัฒนธรรมท้องถิ่นเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ จำนวน 3 โครงการ ดังนี้                  

            2.3.1 โครงการเทศกาลข้าวเมาะโน๊ะ : กิจกรรมสร้างสรรค์จากรากฐานภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่การสร้างนวัตกรรมชุมชนและพหุวัฒนธรรมที่ยั่งยืน โดย อาจารย์ อัฏฐพล เทพยา คณะศิลปกรรมศาสตร์ เป็นหัวหน้าโครงการ                  

            2.3.2 โครงการพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเลน้อยคราฟ โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ จุรีภรณ์ มะเลโลหิต คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ เป็นหัวหน้าโครงการ                  

           2.3.3 โครงการพัฒนาศักยภาพการบริหารงานของผู้ประกอบการตลาดน้ำคลองแห สู่ความยั่งยืน โดย อาจารย์ ดร.นวิทย์ เอมเอก คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ เป็นหัวหน้าโครงการ                                     

          ดังนั้น “หน่วยบริการวิชาการ” (Academic Service Unit) เป็นหน่วยบริการวิชาการที่ได้รับการอนุมัติให้จัดตั้งตามเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการกองทุนบริการวิชาการและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยทักษิณ ซึ่งประกอบด้วย อาจารย์หรือนักวิจัย บุคลากรของมหาวิทยาลัย ที่มีความชำนาญในการทำงานด้านการบริการวิชาการและความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน หรือสหวิทยาการ จำนวนตั้งแต่ 3คนขึ้นไป ร่วมกันดำเนินการบริหารวิชาการเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์แก่บุคคล ชุมชน สังคม และประเทศชาติ โดยสามารถหาแหล่งทุนสนับสนุนการบริการวิชาการจากภายนอก มีการบริหารจัดการที่มีความคล่องตัว และดำเนินการร่วมกับส่วนงานหรือหน่วยงานต่าง ๆ หรือหน่วยงานภายนอกที่เกี่ยวข้อง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและพัฒนางานบริการวิชาการและถ่ายทอดความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรมเพื่อพัฒนาเชิงพื้นที่ด้านสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ภาคใต้