TSU

พิธีบายศรีสู่ขวัญ โผกขวัญสายใย สู่ใจปาริชาต 56 หลอมรวมใจเป็นหนึ่งเดียวต้อนรับนิสิตใหม่ มหาวิทยาลัยทักษิณ

   21 มิ.ย. 67  /   19
พิธีบายศรีสู่ขวัญ โผกขวัญสายใย สู่ใจปาริชาต 56 หลอมรวมใจเป็นหนึ่งเดียวต้อนรับนิสิตใหม่ มหาวิทยาลัยทักษิณ
 

กลุ่มผู้นำองค์กรนิสิต  ประกอบด้วย องค์การนิสิตมหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตสงขลา สภานิสิต และสโมสรนิสิตทุกคณะ  นำโดย นายจักรภัทร ชูศรีหะรัญ นายกองค์การนิสิตมหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตสงขลา ร่วมกับฝ่ายกิจการนิสิต มหาวิทยาลัยทักษิณ ได้จัดพิธีบายศรีสู่ขวัญ “ โผกขวัญสายใย สู่ใจปาริชาต 56 ” ภายใต้โครงการ “ TSU First Memory New Gen 2024 แรกพบเธอฉัน ผูกขวัญสานใจ สายใยเทาฟ้า ” เพื่อเสริมสร้างความเป็นสิริมงคล พร้อมรับขวัญนิสิตขั้นปีที่ 1 (ปาริชาตช่อที่ 56)  เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2567 ณ สนามกีฬา มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตสงขลา  โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สิรยา สิทธิสาร รองอธิการบดีฝ่ายกิจการนิสิตและพันธกิจสัมพันธ์  พร้อมด้วยผู้บริหาร คณาจารย์ และบุคลากร ร่วมพิธี ณ สนามกีฬาหญ้าเทียม มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตสงขลา สำหรับปีการศึกษา 2567 มหาวิทยาลัยทักษิณ มีนิสิตใหม่ จำนวน 5,420 คน 

 

 

    

พิธีบายศรี สู่ขวัญ ปาริชาตช่อที่ 56  เริ่มต้นด้วยขบวนเปิดตัวผู้นำนิสิต  ขบวนแห่บายศรี  การแสดงโชว์ จากคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตสงขลา ชื่อชุดการแสดง “ลายศิลป์ จิตรโปราณ” ฝึกซ้อมควบคุมการแสดงโดยอาจารย์ประภาพรรณ ภูเก้าล้วน และผู้ช่วย ศาสตราจารย์ อรวรรณ โภชนาธาร อาจารย์ประจำหลักสูตรวิชาศิลปะการแสดง  การแสดงมโนราทำบท เรื่อง ตั้งบ้าน ตั้งเมือง โดย โนราตะวัน จันทราศิลป์ ศิษย์เก่าคณะศิลปกรรมศาสตร์  และช่วงเข้าสู่พิธีบายศรีสู่ขวัญ โครงการแรกพบเธอฉัน โผกขวัญสานใจ สายใยเทาฟ้า ปาริชาตช่อที่ 56 ผู้ประกอบพิธีกรรมโดย นายธีรศักดิ์ ชูเพ็ง นักวิชาการสำนักงานวัฒนธรรม จังหวัดสงขลา  เจริญน้ำพระพุทธมนต์  ตามด้วยการแสดง “ บายศรีสู่ขวัญ จากใจพี่สู่ใจน้อง ” จากชมรมผู้นำเชียร์แห่งมหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตสงขลา ฝึกซ้อมการแสดงโดย  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ก้องกิดากร  บุญช่วย และนายปฏิภาณ ด้วงชุม  นิสิตใหม่ร่วมร้องเพลงมาร์ชมหาวิทยาลัยทักษิณอย่างพร้อมเพรียง ต่อด้วยการผูกข้อมือรับขวัญน้อง ซึ่งเป็นประเพณีอย่างหนึ่งที่ทำให้รุ่นพี่กับรุ่นน้อง มีความผูกพัน รักและสามัคคีกัน ทำให้รุ่นพี่กับรุ่นน้องรู้สึกอบอุ่นและประทับใจ  ต่อด้วยการบูมมหาวิทยาลัยสุดยิ่งใหญ่

พิธีบายศรีสู่ขวัญ จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี โดยในปีนี้ได้ประดิษฐ์ตกแต่ง เบญจา” ซึ่งเป็นฐานที่มีเพดานไล่ระดับและทำด้วยผ้าขาว ฐานตั้งซ้อน กัน 5 ชั้นลดหลั่นกันไป มักใช้ประดิษฐานพระพุทธรูปหรือสรงน้ำบุคคลสำคัญ ตามความเชื่อของท้องถิ่นภาคใต้เปรียบเสมือนเขาพระสุเมรุ เป็นที่ประทับของพระอิศวรหรือพระอิศวรซึ่งเป็น ศูนย์กลางของโลก นิยมประดับ เบญจาด้วยการแทงหยวก โดยตระกูลช่างแทงหยวกสงขลา ประดับด้วยลวดลายเถาวัลย์ อ่อนช้อย โดยได้แรงบันดาลใจของการผสมผสานระหว่างศิลปะและวัฒนธรรมของไทยและจีนของวัดสุวรรณคีรีมาตกผลึกเป็นผลงานต้นเบญจาและฐานเบญจาใช้ลวดลายภายในอุโบสถของวัด ฐานตั้งพระพุทธรูปที่มีความเก่าแก่และลวดลาย เป็นเอกลักษณ์เฉพาะถิ่นภาคใต้ อีกทั้งทางผู้ออกแบบยังได้นำลวดลายของถะเจดีย์แบบจีนมาผสมอยู่ในผลงาน   นำเรื่องราว ของความอุดมสมบูรณ์ของพืชพรรณตลอดปีของถิ่นใต้มาผสมผสานโดยมีดอกปาริชาต มีลักษณะเป็นไม้พุ่มมีดอกสีแดงมีกลิ่นหอม อบอวลเป็นตัวแทนของความอุดมสมบูรณ์เป็นต้นไม้แห่งความสมปรารถนาเกิดขึ้นจากการกวนเกษียณสมุทรของพระอินทร์  ดอก ปาริชาตยังถือว่าเป็นดอกไม้ของสวรรค์เป็นดอกไม้ชั้นสูงมักมีความเชื่อว่าเมื่อเราดมดอกไม้ชนิดนี้เราสามารถระลึกชาติตั้งแต่ชาติที่ ใกล้ที่สุดและชาติที่ไกลโพ้นออกไป มักพบในงานจิตกรรมต่าง ๆ และที่สำคัญเป็นดอกไม้ประจำมหาวิทยาลัยทักษิณ  วิทยาเข ตสงขลาอีกด้วย 

    

ตัวแทนพืชพรรณชนิดที่ 2 คือดอกพุดตานที่นำมาจากถะเจดีย์แบบจีน ซึ่งดอกได้ชนิดนี้ต้นกำเนิดมากจากประเทศจีน โดยมีชื่อจีนเรียกว่า  (Fúróng hu) ด้วยชื่อของดอกไม้ชนิดนี้มีความพ้องเสียงกับคำว่า   (Fú) ที่แปลว่าโชคลาภและ ความร่ำรวย ดอกไม้ชนิดนี้เป็นสัญลักษณ์ของความมั่นคงและความอุดมสมบูรณ์ ชาวจีนเชื่อว่าเป็นไม้มงคลเ พราะดอกพุดตาน เปลี่ยนสีได้ถึงสามสีภายในวันเดียวกันซึ่งเปรียบเสมือนวัฏจักรของชีวิตมนุษย์ที่เริ่มต้นเปรียบเหมือนเด็กที่เป็นผ้าขาว เติบโตขึ้น พร้อมกับสีสันที่แต่งแต้มขึ้นมา จนกระทั่งสูงอายุมากขึ้นพร้อมกับสีที่เข้มขึ้นจนกระทั่งร่วงโรย ผู้ออกแบบจึงได้ใช้เป็นสัญลักษณ์เป็น การอวยพรตอนรับนิสิตและผู้เข้าร่วมพิธีทุกท่าน  ส่วนตัวแทนพืชพรรณที่  3  คือ เถาวัลย์ เป็นตัวแทนความหมายของความอุดมสมบูรณ์เชื่อมถึงความเป็นหนึ่งเดียวกันไม่มีการ แตกแยกเพิ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน 

 ทางผู้ออกแบบจึงได้นำลวดลายนี้ใส่ลงไปในตัวเบญจา  โดยใช้ศิลปะการแทงหยวกกล้วยจากศิลปินผู้มีประสบการณ์เพื่อให้ตัวเบญจามีความประณีตงดงามและที่สำคัญเป็นการสืบสานศิลปะที่มีความเก่าแก่สืบสานต่อกันมานับตั้งแต่สมัยอยุธยาให้ผู้เข้าร่วม กิจกรรมได้เห็นและระลึกถึงคุณค่าทางงานศิลปะ ศิลปินผู้สร้างสรรค์ผลงาน นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดำรงค์  ชีวะสาโร อาจารย์ประจำสาขาวิชาทัศนศิลป์ มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตสงขลา และนายอวบ มารักษ์ ครูศิลป์ถิ่นสงขลา จังหวัดสงขลา ต้นเบญจาดังกล่าวใช้สำหรับทำพิธีบายศรีสู่ขวัญ  “ โผกขวัญสายใย สู่ใจปาริชาต 56 ” ในวันนี้