TSU

Thaksin Philharmonic Orchestra คอนเสิร์ตเปิดงานมหกรรมดนตรีและนวัตกรรม Big Music and Arts Festival ยิ่งใหญ่สุดอลังการ

   25 ก.ค. 67  /   44
Thaksin Philharmonic Orchestra คอนเสิร์ตเปิดงานมหกรรมดนตรีและนวัตกรรม Big Music and Arts Festival ยิ่งใหญ่สุดอลังการ
 

Thaksin Philharmonic Orchestra คอนเสิร์ตเปิดงานมหกรรมดนตรีและนวัตกรรม Big Music and Arts Festival  ยิ่งใหญ่สุดอลังการ นักร้องระดับชาติและนานาชาติขึ้นเวทีโชว์พลังเสียงแบบจัดเต็มหอเปรมดนตรี มหาวิทยาลัยทักษิณ

 

 

มหาวิทยาลัยทักษิณ จัดงานมหกรรมดนตรีและนวัตกรรม Big music and arts festival โดยคณะศิลปกรรมศาสตร์ ร่วมมือกับหน่วยงานภาคีเครือข่ายในจังหวัดสงขลาและทั่วประเทศ จัดขึ้นโดยเน้นการบรูรณาและการมีส่วนร่วม กำหนดจัด 4 วัน ตั้งแต่วันที่ 24 -27 กรกฎาคม 2567 ณ อาคารหอเปรมดนตรี มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตสงขลา โดยมีรองศาสตราจารย์ ดร.ณฐพงศ์ จิตรนิรัตน์  อธิการบดีมหาวิทยาลัยทักษิณ กล่าวต้อนรับและเปิดงาน ซึ่งศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์ วีระศักดิ์ จงสู่วิวัฒน์วงศ์ ผู้รักษาการแทนนายกสภามหาวิทยาลัยมอบโล่ประกาศเกียรติคุณให้แก่คณะบุคคลและหน่วยงานที่ให้การสนับสนุนการจัดงาน และมอบทุนการศึกษาแก่นิสิตมหาวิทยาลัยทักษิณ   

       

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ระวีวัฒน์ ไทยเจริญ คณบดีคณะศิลปกรรมศาสตร์  ให้ข้อมูลว่าการจัดโครงการมหกรรมดนตรีและนวัตกรรม  จัดขึ้นระหว่างวันที่ 24 -27 กรกฎาคม 2567 ซึ่งในวันที่ 25 กรกฎาคม 2567 มีพิธีเปิดโครงการ พร้อมเปิดการแสดงดนตรีของวง Thaksin Philharmonic Orchestra ร่วมกับนักร้อง และนักดนตรีกว่า 100 ชีวิต บรรเลงบทเพลงสร้างสรรค์ร่วมกับเหล่าศิลปินนักร้องแนวหน้าของประเทศไทย และนานาชาติ โดยช่วงแรกของการแสดงคอนเสิร์ตเป็นการบรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี เรียบเรียงโดยพันเอก(พิเศษ) ดร.ประทีป สุพรรณโรจน์ ผู้อำนวยเพลง อาจารย์ ดร.สุภกิจ สุภัทรชัยวงศ์ ติดตามด้วยการบรรเลงเพลงมาชร์มหาวิทยาลัยทักษิณ ร่วมกับ คณะนักร้องจากวง ปาริชาต ซิงเกอร์ (Parichart Singer) แห่งมหาวิทยาลัยทักษิณ ผู้ควบคุม ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ดรุณี อนุกูล อาจารย์สุภาพร ฉิมหนู ผู้อำนวยเพลง อาจารย์ไกรศิลป์ โสดานิล  และติดตามด้วยการขับร้องของศิลปินได้แก่ คุณนาทลดา ธรรมธนาคม / จอนนี่ เดฟ / พีท โมเดล / กร ท่าแค / สวย สโรชา (สวย The Voice) / นางสาว พิชญธิดา ทองรักษ์ (นิสิตเอกขับร้อง คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ) / ชาลา ดีน (Chala Deen) / แสงธรรมดา / จ๊อบ บรรจบ / ธันวา รัตนภิมล และ ธีรโชติ เอี่ยมวุฒิกร /  โดยมี คุณบุญธิดา อินทภาศ (หัวหน้าวง) / อาจารย์โกรศิลป์ โสดานิล (ผู้อำนวยเพลง) / ผู้ช่วยศาสตราจารย์ธรรมนิตย์ นิคมรัตน์ (ศิลปินแห่งชาติ) ทั้งนี้ได้รับเกียรติจาก ดร.วานิช โปตะวนิช ศิลปินศิลปาธร ทำหน้าที่ผู้อำนวยเพลง ที่ทุกท่านจะได้ชื่นชมคอนเสิร์ต และปิดท้ายด้วยการแสดงคอนเสิร์ตบทเพลง ทักษิณถิ่นรัก บทเพลงประจำมหาวิทยาลัย ประพันธ์ทำนองโดย รองศาสตราจารย์ นพพร ด่านสกุล ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ ประพันธ์คำร้องโดย อาจารย์จำเริญ แสงดวงแข  และมีเซอร์ไพรซ์ให้แก่แขกผู้มีเกียรติทุกท่านด้วยการ อ่านบทกวีนิพนธ์ จากหนังสือผู้เป็นเรื่องเล่าของหมู่บ้าน โดย รองศาสตราจารย์ ดร.ณฐพงศ์ จิตรนิรัตน์  อธิการบดีมหาวิทยาลัยทักษิณ      

       

 

ส่วนในวันที่ 26 กรกฎาคม 2567 มีการแสดงมโนราห์ เดอะฟิวชัน การแสดงวงโยธวาทิต คอนเสิร์ตขับร้องประสานเสียง (วงคอลัส) และยังมีกิจกรรมอื่น ๆ ที่ได้จัด ไปแล้ว ได้แก่ การแข่งขันเปียโน รอบชิงชนะเลิศ ซึ่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยทักษิณ ได้มอบโล่รางวัลแก่ผู้ชนะการประกวด นอกจากนี้ยังมีดนตรีโฟคซองนิสิตสาขาวิชา ดุริยางคศาสตร์ การแสดงดนตรี Big Band การประกวดวงดนตรีสมัยนิยม (สตริง) การประกวดวาดเส้นคนเหมือน การประกวดวงดนตรึโนราระดับมัธยมศึกษา บูธขายผลงาน การออกแบบ-ทัศนศิลป์ กิจกรรมเวิร์คชอปสีน้ำ จึงขอเชิญชวนทุกท่านเข้าร่วมงานดังกล่าวซึ่งจัดแสดง ณ บริเวณโถงชั้น 1 อาคารหอเปรมดนตรี 

  

 

สำหรับวัตถุประสงค์ของการจัดงาน เพื่อเปิดพื้นที่แห่งการสร้างสรรค์ด้านศิลปวัฒนธรรม ดนตรีและการแสดง รวมทั้ง ศิลปะและผลงานสร้างสรรค์เพื่อส่งเสริมให้เยาวชนและประชาชนได้เรียนรู้และมีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์ให้เป็นศูนย์กลางความร่วมมือกับภาคเอกชน ภาครัฐ สถาบันการศึกษา การจัดงานมหกรรมดนตรีและนวัตกรรม ภายใต้การขับเคลื่อนงานของศูนย์ศิลปะและชีวิตเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ โดยมุ่งสร้างสรรค์อัตลักษณ์ใหม่ทางศิลปกรรมจากรากฐานทางวัฒนธรรมที่ผสมผสานกับวิถีชีวิตในปัจจุบัน ในรูปแบบศิลปะสาธารณะทั้งด้านทัศนศิลป์ ดนตรี และศิลปะการแสดง รวมทั้งส่งเสริมให้เด็ก เยาวชน และประชาชน ได้เรียนรู้ มีส่วนร่วมในการสืบสานและรักษางานดนตรี ศิลปะและวัฒนธรรม และให้ชุมชนมีส่วนร่วมในกระบวนการสร้างสรรค์ ทัศนศิลป์ ดนตรี ศิลปะการแสดง  และการพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือตลอดจนการมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน รวมทั้งเปิดโอกาสให้ส่วนงานวิชาการ ส่วนงานอื่น หน่วยงาน สถาบันการศึกษา องค์กรภายนอก ร่วมจัดกิจกรรมดังกล่าว  สำหรับกิจกรรมภายในงาน ประกอบด้วยกิจกรรมต่าง ๆ จำนวน 13 กิจกรรม ได้แก่ การแสดงวง Orchestra / การแสดงมโนราห์ เดอะฟิวชั่น /คอนเสิร์ตขับร้องประสานเสียง /การแสดงวงโยธวาทิต 10 สถาบันการศึกษา / การแสดงดนตรี Big Band / การประกวดวงดนตรีสมัยนิยม / การประกวดวาดเส้นคนเหมือน / การประกวดวงดนตรีโนรา ระดับมัธยมศึกษา / นิทรรศการแสดงผลงานนิสิต /นิทรรศการจากหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัย / บูธจำหน่ายผลงานการออกแบบ / กิจกรรม Workshop ด้านทัศนศิลป์ / การออกแบบ