TSU

มหาวิทยาลัยทักษิณ จัดกิจกรรม Grand Opening เปิดตัว บริษัท ทีเอสยู เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด Holding Company: Innovation Business Day

   23 ม.ค. 67  /   109
สถาบันวิจัยและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยทักษิณ จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การสร้างแฟลทฟอร์มเพื่อนำนวัตกรรมของมหาวิทยาลัยไปสู่ภาคธุรกิจตามความพร้อมของมหาวิทยาลัยทักษิณ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้าใจในการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ ผ่าน บริษัท ทีเอสยู เอ็นเตอร์ไพรส์ ภายใต้โครงการขับเคลื่อนธุรกิจนวัตกรรม มหาวิทยาลัยทักษิณ : การนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ผ่าน Holding Company : Innovation Business Day บริษัท ทีเอสยู เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด  
สถาบันวิจัยและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยทักษิณ จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การสร้างแฟลทฟอร์มเพื่อนำนวัตกรรมของมหาวิทยาลัยไปสู่ภาคธุรกิจตามความพร้อมของมหาวิทยาลัยทักษิณ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้าใจในการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ ผ่าน บริษัท ทีเอสยู เอ็นเตอร์ไพรส์ ภายใต้โครงการขับเคลื่อนธุรกิจนวัตกรรม มหาวิทยาลัยทักษิณ : การนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ผ่าน Holding Company : Innovation Business Day บริษัท ทีเอสยู เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด  

 

โดยกิจกรรมดังกล่าวเป็นการพบปะพูดคุยและเปิดตัว บริษัท ทีเอสยู เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด พร้อมทั้งแนะนำทีมงาน และวัตถุประสงค์ในการดำเนินงาน โดยมีรองศาสตราจารย์ ดร.สมัคร แก้วสุกแสง รองอธิการบดี ฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยทักษิณ เป็นประธานการประชุม  ซึ่งจัดชึ้น 2 ครั้ง ดังนี้

ครั้งที่ 1 จัดเมื่อวันที่ 22 มกราคม 2567 ณ ห้อง TSU Smart Research Space สถาบันนวัตกรรมและพัฒนา ชั้น 2 อาคารศูนย์เครื่องมือกลาง มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง และครั้งที่ 2 จัดเมื่อวันที่ 23 มกราคม 2567  ณ ห้องประชุมคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตสงขลา

สำหรับ บริษัท ทีเอสยู เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด เกิดขึ้นภายใต้นโยบายการพลิกโฉมมหาวิทยาลัย (Reinventing University) กลุ่มพัฒนาเทคโนโลยีและส่งเสริมการสร้างนวัตกรรม ในปี 2566 ซึ่งมหาวิทยาลัยทักษิณได้รับการจัดสรรงบประมาณ จำนวน 5.3 ล้านบาท จาก สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ผ่าน สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) เพื่อพัฒนาความเป็นเลิศของ สถาบันอุดมศึกษาและการผลิตกำลังคนขั้นสูงด้าน ววน. เพื่อขับเคลื่อนการพลิกโฉมสถาบันอุดมศึกษาตามกลุ่ม ยุทธศาสตร์  ภายใต้โปรแกรม 25 (P25) แผนงานย่อยพัฒนาระบบและกลไกสร้างความเข้มแข็งของระบบนิเวศ ววน. ภายใต้ชื่อโครงการ “การเพิ่มสมรรถนะและระบบนิเวศน์สนับสนุนด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมของ มหาวิทยาลัยทักษิณ สู่การใช้ประโยชน์และขับเคลื่อนธุรกิจนวัตกรรม”       

   

นอกจากนี้ได้ดำเนินงานโครงการเงินทุนหมุนเวียนเพื่อการใช้ประโยชน์งานวิจัยและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยทักษิณ โดยมีนโยบายสนับสนุนการบริหารจัดการองค์ความรู้ที่เกิดขึ้นจากผลงานวิจัยอันจะนำไปสู่นวัตกรรมหรือการต่อยอดเชิงพาณิชย์ เพื่อสร้างคุณค่า มูลค่า และขับเคลื่อนการ พัฒนาชุมชน สังคมของประเทศไปสู่การแข่งขันในระดับนานาชาติ การส่งเสริมการสร้างผลิตภัณฑ์ต้นแบบจาก งานวิจัย การดำเนินเนินงานกิจกรรมการ Licensing ผลงานวิจัยที่พร้อมพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ต้นแบบ สถาบันวิจัยและพัฒนา จึงเสนอจัดตั้งเงินทุนหมุนเวียน ในชื่อ“โครงการเงินทุนหมุนเวียนเพื่อการใช้ประโยชน์งานวิจัยและ นวัตกรรม มหาวิทยาลัยทักษิณ” เพื่อเป็นกลไกและแพลตฟอร์มในการขับเคลื่อนโดยอนุมัติการจัดตั้งเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2564 และมีการดำเนินการจัดทำผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากผลงานวิจัย มาตั้งแต่ พฤศจิกายน 2564 เป็นต้นมา โดยมีมติให้มหาวิทยาลัยทักษิณดำเนินการจัดตั้งบริษัท TSU-Holding Company โดยจะต้องดำเนินงานโดยผ่านการกำหนด KPI ของมหาวิทยาลัยอย่างชัดเจน  

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่  นางสาวพิมพ์ณดา มณีวงค์ / นางสาวอรอนงค์ สักสงค์ กลุ่มภารกิจบริหารผลผลิต ทรัพย์สินทางปัญญา และถ่ายทอดนวัตกรรม สถาบันวิจัยและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยทักษิณ โทร 081 5407 304 ภายใน 7253,7247

ข้อมูล/ภาพ : สถาบันวิจัยและนวัตกรรม
เรียบเรียง : งานสื่อสารองค์กร สำนักงานมหาวิทยาลัยทักษิณ