TSU

คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ม.ทักษิณ บริหารงานสมัยที่ 2 ชูนโยบาย HUSO Plus the Next Step ขับเคลื่อนคณะ ฯ สู่ระดับแนวหน้าของประเทศ

   1 ก.พ. 67  /   97
คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ม.ทักษิณ บริหารงานสมัยที่ 2 ชูนโยบาย HUSO Plus the Next Step ขับเคลื่อนคณะ ฯ สู่ระดับแนวหน้าของประเทศ
 

คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ บริหารงานสมัยที่ 2 มุ่งยกระดับมหาวิทยาลัยทักษิณไปสู่มหาวิทยาลัยระดับแนวหน้าของประเทศทางด้านคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ภายใต้นโยบาย “HUSO Plus the Next Step” 

 

สภามหาวิทยาลัยทักษิณ เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2566 (ครั้งที่ 9/2566) มีมติแต่งตั้งผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ปาริฉัตร ตู้ดำ ให้ดำรงตำแหน่ง คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์  เป็นสมัยที่ 2 มีผลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 โดยทิศทางการขับเคลื่อนของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์  มุ่งยกระดับมหาวิทยาลัยทักษิณไปสู่มหาวิทยาลัยระดับแนวหน้าของประเทศทางด้านคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ภายใต้คอนเซ็ปต์ “HUSO Plus the Next Step”  โดยใช้จุดแข็ง 3 ประการ คือ ภาษา เครือข่าย และชุมชน ช่วยขับเคลื่อนการบริหารงานและการจัดการเรียนการสอน ผ่านการสัมภาษณ์ของทีมข่าว TSU NEWS ประเด็น  “แนวทางการบริหารคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และการรองรับหลักสูตร Premium ในอนาคต”  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ปาริฉัตร ตู้ดำ คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ กล่าวว่าสำหรับนโยบายและแนวทางการบริหารคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ในโอกาสที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นคณบดี สมัยที่ 2 มุมมองของการบริหารงานผ่านการวิเคราะห์จากผลการดำเนินในวาระแรก ตลอด 4 ปี ที่ผ่านมา โดยการทบทวนและสำรวจโอกาส ความท้าทายใหม่ ๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เพื่อนำมากำหนดทิศทางการบริหาร ที่จะมุ่งสร้างความท้าทายใหม่ ๆ โดยผสมผสานกับบริบทที่มีอยู่ก่อเกิดเป็นแนวทางในการขับเคลื่อนการทำงานบนฐานของอัตลักษณ์ความเป็นคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ซึ่งเราจะชูความเป็นคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ที่เกิดจากการสร้างสรรค์ หลอมรวม พัฒนา และต่อยอดทักษะของผู้เรียน ผลิตหลักสูตรที่เป็นความท้าทายใหม่ ๆ ที่จะมุ่งยกระดับมหาวิทยาลัยทักษิณไปสู่ระดับมหาวิทยาลัยแนวหน้าของประเทศทางด้านคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ภายใต้คอนเซ็ปต์ “HUSO Plus the Next Step” 

โดยมีรูปแบบการจัดการเรียนการสอนเพื่อตอบสนองนโยบายและรองรับหลักสูตรใหม่ ๆ และหลักสูตร Premium ในอนาคต  คือการปรับตัวที่จะใช้จุดเข็ง 3 ประการ ในการขับเคลื่อนการบริหารงาน คือ ภาษา เครือข่าย ชุมชน  บูรณาการความเป็นมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ กล่าวคือ

ด้านภาษา ชูจุดเด่นด้านการต่างประเทศ  ซึ่งเป็นจุดที่ได้เปรียบ โดยจะเร่งให้มีการดำเนินการขับเคลื่อนความร่วมมือกับต่างประเทศ โดยการผลิตหลักสูตรใหม่ ๆ และผสานความร่วมมือทางวิชาการกับนานาชาติ

ด้านชุมชน ขยายฐานชุมชน พัฒนาชุมชนให้มีคุณภาพ โดยการออกแบบหลักสูตรใหม่ ๆ รองรับการขยายตัว โครงสร้างประชากรมีการเปลี่ยนแปลง จึงมุ่งขยายหลักสูตรที่ตอบโจทย์กับคนทุกเพศ ทุกวัย  มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงหลักสูตรให้รองรับกับความท้าทายด้านผู้เรียน โดยการขยายกลุ่มผู้เรียน ขยายช่วงเวลาการเรียน เรียนได้ทุกที่ทุกเวลา ตลอดชีวิต จึงมีการปรับปรุงหลักสูตรให้ตอบสนองไลฟ์สไตล์ เช่น หลักสูตรควบปริญญาตรี 2 ใบ  หลักสูตรควบปริญญาโท+ ปริญญาเอก และปรับปรุงหลักสูตรที่มีอยู่เดิม ปริญญาตรี 12 หลักสูตร  ปริญญาโทและเอก 3 หลักสูตร รวม 15 หลักสูตร ให้ดำเนินต่อไป และจำเป็นทางเลือกสำหรับการพัฒนากำลังคนของประเทศชาติต่อไป

  

ด้านเครือข่าย เน้นรูปแบบการบูรณาการข้ามศาสตร์ โดยเฉพาะหลักสูตรทางด้านภาษา ซึ่งคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มีความเชี่ยวชาญ  แต่ยังขาด Content โดยจะมีการบูรณาการหลักสูตร 2 ปริญญา เช่น HR+ ภาษาอังกฤษ จากจุดอ่อนที่มีอยู่ เพื่อตอบโจทย์ด้านการทำงานและเป็นทางเลือกให้กับหน่วยงานที่รับนิสิตเข้าทำงาน เนื่องจากในการเก็บข้อมูลการทำงานของนิสิตในสถานประกอบการพบว่า หน่วยงานต้องการนิสิตที่มีลักษณะ Multi function ทำงานได้หลากหลายในคน ๆ เดียว โดยเฉพาะทางด้านบริหารทรัพยากรบุคคล ถ้ามีความสามารถทางด้านการใช้ภาษามากกว่า 2-3 ภาษาจะยิ่งได้เปรียบ จึงนำเอาจุดอ่อนที่พบ มาเป็นจุดแข็งในการพัฒนาหลักสูตร เพื่อตอบโจทย์ผู้จ้างงานบัณฑิต  หรือการพัฒนาหลักสูตร 3+1 หลักสูตรภาษาจีน ซึ่งคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ทำอยู่แล้ว โดยนิสิตเรียนที่มหาวิทยาลัยทักษิณ ประเทศไทย 3 ปี และไปเรียนที่ประเทศจีน 1 ปี

  

นอกจากนี้ได้มีการปรับปรุงหลักสูตรที่จะผลิตเพิ่ม 2 ปริญญา อาทิภาษาจีนควบภาษาอังกฤษ เรียน 4 ปี ได้ปริญญา 2 ใบ ซึ่งเป็นหลักสูตรแรกของมหาวิทยาลัยทักษิณ และได้รับการตอบรับจากผู้เรียนอย่างดี สำหรับการพัฒนาหลักสูตรมาจากข้อเสนอแนะของสถานประกอบการที่มีความต้องการลูกจ้าง หรือผู้ปฏิบัติงานที่มีความหลากหลายเพื่อรองรับกับเทคโนโลยีของโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว  รวมทั้งความเป็นนานาชาติ มีการปรับให้มีการ Tranfer  เครดิตร

 

เช่นการลงทะเบียนเรียนกับมหาวิทยาลัยทักษิณ และมหาวิทยาลัยในประเทศอินโดนีเซีย มีกิจกรรมสหกิจศึกษาในต่างประเทศ ในประเทศมาเลเซีย และในประเทศญี่ปุ่น สำหรับปัจจัยสนับสนุนและสิ่งอำนวยความสะดวกแก่บุคลากรและนิสิต ที่คณะจัดเตรียม เพื่อเป้าหมายการผลิตบัณฑิตของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์นั้น เรามีการจัดหา วัสดุ ครุภัณฑ์ และสิ่งอำนวยความสะดวกให้กับนิสิต โดยเฉพาะอุปกรณ์การเรียน แลปเฉพาะทางทางด้านภูมิศาสตร์ ห้องตัดต่อทางด้านนิเทศศาสตร์ แลปทางด้านภาษา 

ส่วนบุคลากรในแนวทางการบริหารเรามองว่าบุคลากรคือ “เพื่อนร่วมอาชีพ” เป็นหุ้นส่วนทางวิชาชีพ พยายามให้บุคลากรมีความสบายใจในการทำงาน มีการจัดสรรงบประมาณในการฝึกอบรม และสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ที่เพียงพอต่อการปฏิบัติงาน