TSU

บพท. ลงพื้นที่ติดตามทุนวัฒนธรรมกริชสกุลช่างสงขลา คุณค่าและการจัดการทุนทางวัฒนธรรมแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากอย่างยั่งยืน

   19 ก.พ. 67  /   66
บพท. ลงพื้นที่ติดตามทุนวัฒนธรรมกริชสกุลช่างสงขลา คุณค่าและการจัดการทุนทางวัฒนธรรมแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากอย่างยั่งยืน
 

บพท. ลงพื้นที่ติดตามทุนวัฒนธรรมกริชสกุลช่างสงขลา คุณค่าและการจัดการทุนทางวัฒนธรรมแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากอย่างยั่งยืน

 

เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2567 คณะวิจัยหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิ และนักวิจัย จากหน่วย บพท. ประกอบด้วย อาจารย์พนิดา  ฐปนางกูร  อาจารย์ ดร.วศิน  โกมุท,  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พลเดช  เชาวรัตน์,  อาจารย์ ดร.สิริวิท  อิสโร เดินทางลงพื้นที่จังหวัดสงขลา และสถาบันทักษิณคดีศึกษา มหาวิทยาลัยทักษิณ ตำบลเกาะยอ อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา เพื่อติดตามความคืบหน้าการดำเนินงานโครงการกริชสกุลช่างสงขลา : การสร้างคุณค่าและการจัดการทุนทางวัฒนธรรมแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากอย่างยั่งยืน มหาวิทยาลัยทักษิณ ซึ่งโครงการดังกล่าวได้รับการจัดสรรงบประมาณจาก บพท. ภายใต้โครงการวิจัยปีงบประมาณ 2566 โครงการบริหารชุดโครงการ : จัดการทุนทางวัฒนธรรมเพื่อยกระดับเศรษฐกิจชุมชนและสำนึกท้องถิ่น  ปีงบประมาณ 2566   โดยมีอาจารย์ ดร.ทิพย์ทิวา สัมพันธมิตร ผู้ช่วยอธิการบดี ฝ่ายวิจัยและสื่อสารองค์กร อาจารย์เทพรัตน์ จันทพันธ์ รักษาการแทนผู้อำนวยการ สถาบันทักษิณคดีศึกษา มหาวิทยาลัยทักษิณ พร้อมทีมผู้บริหาร และนักวิจัยโครงการ ฯ ร่วมต้อนรับ  

 

สำหรับการติดตามความก้าวหน้าการดำเนินการวิจัยในครั้งนี้ คณะวิจัย ฯ ได้ลงพื้นที่ ดังนี้ เยี่ยมชมบ้านนายณรงค์ พงศ์อนันต์ (ส.ท.โป้ง) นักสะสมกริช ตำบลระโนด อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา/ เยี่ยมชม บ้านช่างไท (นายอุทัย บรรจงรัตน์) ตำบลวัดสน อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา (ช่างตีเหล็ก การนำเอาองค์ความรู้มาสร้างสรรค์ขึ้นงาน)/ เยี่ยมชม บ้านช่างเขียว (นายประทีป ทองคำ) ตำบลชุมพล อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา (การแกะสลักหัวกริช) ซึ่ง อาจารย์ ดร.ทิพย์ทิวา สัมพันธมิตร ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิจัยและสื่อสารองค์กร มหาวิทยาลัยทักษิณ ได้รายงานภาพรวมความคืบหน้าการดำเนินงานโครงการวิจัยฯ  พร้อมร่วมแลกเปลี่ยนมุมมองกับคณะผู้วิจัย มหาวิทยาลัยทักษิณ และภาคีเครือข่าย ณ ห้องมีดและศาสตรวุธ พิพิธภัณฑ์คติชนวิทยา สถาบันทักษิณคดีศึกษา  นอกจากนี้คณะทำงาน ฯ ได้เยี่ยมชมพื้นที่การจัดแสดงผลงานต้นแบบนวัตกรรมจากวัฒนธรรมกริช พร้อมทั้งสรุปผลการลงพื้นที่เยี่ยมชม และแลกเปลี่ยน พร้อมให้ข้อเสนอแนะสำหรับการดำเนินการวิจัย และการเพิ่มคุณค่าและการจัดการทุนทางวัฒนธรรมแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากอย่างยั่งยืนต่อไป