TSU

Songkhla lagoon Gyotaku จากศิลปะโบราณของญี่ปุ่นสู่การเรียนรู้ทรัพยากรธรรมชาติในทะเลสาบสงขลา

   31 ต.ค. 67  /   36
Songkhla lagoon Gyotaku จากศิลปะโบราณของญี่ปุ่นสู่การเรียนรู้ทรัพยากรธรรมชาติในทะเลสาบสงขลา

? ?

จุดเริ่มต้นของการทำ Songkhla lagoon Gyotaku

??????????? ครั้งแรกมีโอกาสเรียนรู้การทำภาพพิมพ์จากกิจกรรม workshop "จะนะเกียวทาคุ จากภาพพิมพ์ปลาสู่เมนูอาหาร" ซึ่งจัดโดย Around the Room Studio และเครือข่ายจะนะรักษ์ถิ่น เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2567 ในงานปักษ์ใต้ ดีไซต์วีคที่จังหวัดสงขลา หลังจากได้ร่วมกิจกรรม workshop ทำให้มีแนวคิดว่า กิจกรรมการทำภาพพิมพ์ปลาสามารถนำมาประยุกต์ใช้เพื่อทำกิจกรรมในงานวิจัยโครงการเมืองแห่งการเรียนรู้ได้ โดยเฉพาะกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องความหลากหลายของปลาในทะเลสาบสงขลา จึงมีการศึกษาเพิ่มเติมหาความรู้จากสื่อต่างๆ และนำความรู้ที่ได้มาทดลองทำภาพพิมพ์ปลา เพราะการทำภาพพิมพ์ปลามีความละเอียดในหลายขั้นตอน ทั้งชนิดของกระดาษ ผ้า หมึกที่ใช้ในการทำภาพพิมพ์ปลา และเทคนิคในการกดรีดผ้าให้มีความเหมาะสมกับปลาแต่ละชนิด มีการทดลอง ทำซ้ำหลายร้อยครั้ง จนกระทั่งได้เทคนิคที่เหมาะสมสำหรับการใช้ในการทำกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ให้เด็กและชุมชนในพื้นที่รอบลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา

?

เชื่อมโยงระหว่างศิลปะและวิทยาศาสตร์สู่กิจกรรมการเรียนรู้ทรัพยากรธรรมชาติ

?????????????? ภาพพิมพ์ปลาเป็นงานศิลปะ ?ที่ใช้ทรัพยากรรอบตัวมาสร้างสรรค์เป็นชิ้นงาน แต่อย่างไรก็ตาม การทำภาพพิมพ์ปลาเป็นงานที่ผสมผสานระหว่างศิลปะและวิทยาศาสตร์ ระหว่างการทำกิจกรรมการทำภาพพิมพ์ปลาจะทำให้เด็กได้เรียนรู้เกี่ยวกับ โครงสร้างต่างๆ ของปลา เช่น เกล็ด ครีบ ลักษณะของลำตัว การใช้หมึกทาลงบนตัวปลาและระหว่างการใช้มือกดและรีดเบาๆ ลงไปบนผ้าเพื่อให้หมึกติดกับผ้านั้น เด็กจะมีเวลาในการสังเกตโครงสร้างเหล่านี้ เป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยให้สามารถเรียนรู้ลักษณะที่สำคัญของปลาแต่ละชนิดและเรียนรู้ลักษณะที่แตกต่างกันไปของปลาแต่ละชนิด ด้วยเหตุนี้ เราจึงสามารถประยุกต์ใช้การทำภาพพิมพ์ปลากับการเรียนรู้ความหลากหลายของปลาในทะเลสาบสงขลาได้เป็นอย่างดี

? ???

? ?? ?

? ?? ?

? ?? ????

ประโยชน์ของกิจกรรมภาพพิมพ์ปลา

?????????????? กิจกรรมภาพพิมพ์ปลาเป็นกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการเรียนรู้ โดยใช้การทำงานของสมองเป็นฐาน (brain base learning)? เป็นกิจกรรมที่ทำให้เด็กมีประสบการณ์เรียนรู้ โดยคำนึงถึงความสามารถของเด็กแต่ละคน เด็กแสดงออกได้อย่างอิสระในการเลือกชนิดและขนาดของปลา เด็กได้ฝึกทักษะในการสังเกตรายละเอียดของปลาก่อนการลงทาหมึกลงบนตัวปลา การซับน้ำบริเวณตัวปลาให้แห้งช่วยให้เด็กได้สังเกตุลักษณะและรายละเอียดของปลาเพิ่มเติม การทาหมึกลงบนตัวปลาได้พัฒนากล้ามมเนื้อมัดเล็ก (fine motor) มีการทำงานประสานกันระหว่างสายตาและมือ ระหว่างการทาหมีกลงบนตัวปลา เด็กจะได้สังเกตความสมบูรณ์ของสีที่ทาลงไปบนตัวปลา ได้ฝึกสมาธิ ใจจดจ่อกับกิจกรรมที่กำลังทำ นอกจากนี้ ในการทำงาน เด็กยังมีโอกาสได้แบ่งปัน ช่วยเหลือกันระหว่างเพื่อน เป็นการช่วยพัฒนาทักษะด้านอารมณ์และสังคม ดังนั้น กิจกรรมนี้จึงเป็นกิจกรรมที่มีประโยชน์อย่างยิ่งต่อการพัฒนาการเด็ก ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ด้านอื่นๆ ในชีวิต รวมถึงการมีส่วนร่วมกับชุมชน สร้างจิตสำนึกให้เด็ก รัก หวงแหนทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม

? ?? ?

Songkhla lagoon Gyotaku - หนึ่งในกิจกรรมของโครงการเมืองแห่งการเรียนรู้

??????????? ทางโครงการวิจัยเมืองแห่งการเรียนรู้ (Learning city) ภายใต้โครงการ ?ทะเลสาบสงขลา นิเวศสามน้ำ การเรียนรู้เพื่อพัฒนากลไกเมืองเศรษฐกิจสร้างสรรค์และยั่งยืน? ได้พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาหลายกิจกรรม หนึ่งในกิจกรรมของโครงการคือ ?Songkhla lagoon Gyotaku? เป็นกิจกรรมที่ใช้การทำภาพพิมพ์ปลามาเป็นกิจกรรมในการส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียน เยาวชนและประชาชนในพื้นที่ให้รู้จักทรัพยากรในพื้นที่ให้มากขึ้น โดยจะมีการจัดกิจกรรมให้กับหน่วยงานและโรงเรียนรอบทะเลสาบสงขลา นอกจากนี้ โครงการ ?Songkhla lagoon Gyotaku? ยังเป็นการเก็บรวบรวมความหลากหลายและการแพร่กระจายของสัตว์น้ำในทะเลสาบสงขลาโดยมีความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายในพื้นที่รอบลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา ตอนนี้ทางโครงการวิจัยกำลังดำเนินกิจกรรมในหลายพื้นที่ มีการจัดกิจกรรมประกวด ?Songkhla lagoon Gyotaku contest? โดยการประกวดครั้งแรกเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2567 ที่บ้านปากประ ในงาน Learning week และครั้งต่อไปจะมีการจัดประกวดที่ตลาดใต้ถุน เทศบาลปากพะยูน จังหวัดพัทลุง ถ้าหน่วยงานหรือโรงเรียนใดสนใจสามารถติดต่อได้ที่ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เตือนตา ร่าหมาน คณะวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมดิจิทัล มหาวิทยาลัยทักษิณ

? ?

? ?? ?? ?

?