TSU

หรอยแต่แรก สานใจใต้ สายใยวัฒนธรรม งานลอยกระทง เชื่อมโยงมหาวิทยาลัยทักษิณจากรากสู่โลก The University Glocalization

   15 พ.ย. 67  /   34
หรอยแต่แรก สานใจใต้ สายใยวัฒนธรรม งานลอยกระทง เชื่อมโยงมหาวิทยาลัยทักษิณจากรากสู่โลก The University Glocalization

หรอยแต่แรก สานใจใต้ สายใยวัฒนธรรม งานลอยกระทง เชื่อมโยงมหาวิทยาลัยทักษิณจากรากสู่โลก The University Glocalization  องค์การนิสิต จัดใหญ่ เฟ้นหาบุตรทักษิณา เทพธิดาทักษิณ และเทพไพลินศิลป์แดนใต้  

องค์การนิสิต มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตสงขลา  ร่วมกับฝ่ายกิจการนิสิต จัดโครงการ " หรอยแต่แรก สานใจใต้ สายใยวัฒนธรรม " และงานลอยกระทง สืบสานวัฒนธรรม ระหว่างวันที่ 15 - 17 พฤศจิกายน 2567 ณ มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตสงขลา  โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.ณฐพงศ์ จิตรนิรัตน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยทักษิณ เป็นประธานเปิดงาน  โครงการดังกล่าว มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างพื้นที่ให้นิสิตได้แสดงความสามารถทางด้านศิลปวัฒธรรม อย่างสร้างสรรค์ เข้าใจการทำงานร่วมกันเป็นหมู่คณะ ผลักดันสู่การเป็นพลเมืองโลก พร้อมส่งเสริมและสนับสนุน ให้นิสิต และบุคลากร ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการอนุรักษ์ ฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่นและประเพณีอันดีงาม ตอบสนองยุทธศาสตร์ The University Glocalization ในหมุดหมายที่ 4 พัฒนานวัตกรรมสังคมบนฐานศิลปะ วัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อสืบสานและและพัฒนา คุณภาพชีวิตของประชาชน  เป็นการพัฒนาศักยภาพที่สำคัญของนิสิตในศตวรรษที่ 21 ทั้ง Hard Skills และ Soft Skills และยังเสริมสร้างศักยภาพและสร้างคุณค่าของนิสิตให้เป็นไปตามหลัก Glocal Cilizenship

 รองศาสตราจารย์ ดร.ณฐพงศ์ จิตรนิรัตน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยทักษิณ  กล่าวว่า มหาวิทยาลัยทักษิณ คาดหวังว่า การจัดโครงการ " หรอยแต่แรก สานใจใต้ สายใยวัฒนธรรม " และงานลอยกระทง ขององค์การนิสิต จะสามารถสร้างการมีส่วนร่วมของนิสิตได้อย่างกว้างขวาง ซึ่งกิจกรรมในวันนี้เป็นเครื่องพิสูจน์ ได้ว่า เป็นกิจกรรมที่จะช่วยสร้างการมีส่วนร่วม สร้างความร่วมมือของนิสิตและบุคลากรได้หลากหลายอีกกิจกรรมหนึ่ง ของมหาวิทยาลัยทักษิณ  ขอฝากกับนิสิตทุกคนว่า โครงการ " หรอยแต่แรก สานใจใต้ สายใยวัฒนธรรม " และงานลอยกระทง เป็นแนวคิดที่มีความสำคัญโดยเฉพาะการนำมหาวิทยาลัยทักษิณไปสู่  ซึ่งหมายถึงการเชื่อมโยงมหาวิทยาลัยจากรากสู่โลก และจากโลกมาสู่เรา การพยายามที่จะรื้อฟื้นกิจกรรม รวมถึงระบบองค์ความรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่จะนำมาเผยแพร่ในสถานการณ์ปัจจุบัน สิ่งเหล่านี้ล้วนมีความสำคัญแต่เราจะต้องตระหนักไว้ว่า วัฒนธรรมไม่ได้หยุดนิ่ง วัฒนธรรมทุกวัฒนธรรมล้วนมีพลวัฒน์ มีการเปลี่ยนแปลง ปรับเปลี่ยนตลอดเวลาเป็นไปตามยุคสมัย

 

 สิ่งเหล่านี้เราจะต้องคิดและตระหนักว่าเราจะจัดกิจกรรมอย่างไร ให้สามารถดึงเอาวัฒนธรรมมาใช้ และสามารถนำไปสู่การสร้างสรรค์กิจกรรมในเชิงมิติทางวัฒนธรรมใหม่ ๆ ที่ตั้งอยู่บนฐานปัญญาเดิม และสามารถนำไปสู่การออกแบบ ดีไซน์ใหม่ ๆ ให้สมสมัยสอดคล้องกับอารมณ์ความรู้สึกของผู้คนในสังคมนั้น ๆ ได้มากขึ้น  สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นความพยายามของผู้จัดงาน  โดยเฉพาะองค์การนิสิตที่จะร่วมกันอนุรักษ์ และสร้างสรรค์กิจกรรม โดยการเรียนรู้จากฐานวัฒนธรรมเดิมได้อย่างดี และขอเป็นกำลังใจให้นิสิต ขอให้จัดโครงการดี ๆ แบบนี้ต่อ ๆ ไปในทุก ๆ ปี

 นายรัฐภูมิ  รอดบน  ในนามตัวแทนผู้รับผิดชอบโครงการ " หรอยแต่แรก สานใจใต้ สายใยวัฒนธรรม " กล่าวว่า โครงการ " หรอยแต่แรก สานใจใต้ สายใยวัฒนธรรม "  กำหนดจัดขึ้นเป็นระยะเวลา 3 วัน โดยมีรายละเอียดการจัดกิจกรรมแต่ละวัน ดังนี้

วันที่ 15 พฤศจิกายน 2567  เปิดตลาดวันลอยกระทงซึ่งจะมีการออกร้าน และซุ้มผู้นำองค์กร ชมรม และนิสิตที่มีความสนใจ กิจกรรมลอยกระทงอนุรักษ์ประเพณีไทย  ซึ่งจะมีไฮไลน์ของการจัดงาน คือการประกวด บุตรทักษิณา เทพธิดาทักษิณ และเทพไพลินศิลป์แดนใต้ เพื่อให้นิสิตได้แสดงออก และเสริมสร้างศักยภาพของนิสิต รวมถึงการเปิดกว้างในด้านความหลากหลายเพื่อให้นิสิตได้แสดงจุดยืนและแสดงความสามารถของตัวเอง อีกทั้งให้นิสิตตระหนักถึงความเสมอภาคทางเพศในสังคมปัจจุบัน

       

วันที่ 16 พฤศจิกายน 2567 เป็นการแข่งขันกีฬาพื้นบ้านทางบก และการแสดงหนังตะลุง เพื่อสืบสานศิลปวัฒนธรรมทางภาคใต้

วันที่ 17 พฤศจิกายน 2567  3 เป็นการแข่งขันกีฬาพื้นบ้านทางน้ำ การแข่งขันขูดมะพร้าว การแข่งขันทำอาหารพื้นบ้าน การนำเสนอ Soft Power จากซุ้มของกลุ่มจังหวัดต่าง ๆ  รวมถึงการแสดงคอนเสิร์ตปิดท้ายการจัดกิจกรรม ซึ่งเป็นกิจกรรมสุดท้ายของการจัดโครงการนี้

.............................